รูปร่างของและชนิดของเกล็ดหิมะ

รูปร่างของและชนิดของเกล็ดหิมะ

ถ้าพูดถึงเกล็ดหิมะ ทุกคนคงจะนึกออกใช่ไหมคะ ว่าเป็นลักษณะอย่างไร

วันนี้แอดมินจะมาพูดถึงเกล็ดหิมะกันค่ะ

เกล็ดหิมะไม่ได้มีแค่ที่เราเห็นเป็นสัญลักษณ์ทั่วไปเพียงแบบเดียว❄️

เรามาทำความรู้จักกับชนิดของเกล็ดหิมะกันค่ะ

เกล็ดหิมะ เป็นผลึกน้ำแข็งเดี่ยว ๆ ที่มีขนาดใหญ่พอสมควร และอาจรวมกับเกล็ดหิมะอื่น แล้วตกลงสู่บรรยากาศของโลกเป็นหิมะ เกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดก่อเป็นรูปร่างรอบอนุภาคฝุ่นในมวลอากาศอิ่มตัวยิ่งยวดโดยดึงดูดละอองน้ำเมฆเย็นจัดซึ่งจะแช่แข็งและเกาะกันในรูปผลึก เกล็ดหิมะเกิดเป็นรูปทรงซับซ้อนเมื่อมันเคลื่อนผ่านอุณหภูมิและเขตความชื้นที่ต่างกันในบรรยากาศ ทำให้เกล็ดหิมะแต่ละเกล็ดมีรายละเอียดต่างกัน

ชนิดของเกล็ดหิมะ

ประเภทของเกล็ดหิมะ และแขนงจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของการก่อตัว เช่น อุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ ปริมาณน้ำ จำนวนอนุภาคแขวนลอย เป็นต้น นั่นคือเหตุผลที่ในช่วงหิมะตกเราสามารถพบกับเกล็ดหิมะหลายประเภทเนื่องจากสภาพการก่อตัวที่แตกต่างกัน

ปริซึมอย่างง่าย(Simple prisms)
ปริซึมชนิดนี้เป็นพื้นฐานของเกล็ดหิมะ รูปร่างของมันอาจแตกต่างกันไปตั้งแต่ปริซึมหกเหลี่ยมไปจนถึงหกเหลี่ยมแผ่นบาง ขนาดของปริซึมเหล่านี้มีขนาดเล็กมากจนยากที่จะมองเห็นด้วยตาเปล่า

Starry blades
เกล็ดชนิดนี้นิยมนำไปวาดและนำไปเป็นต้นแบบของหิมะ เกล็ดเหล่านี้เป็นผลึกน้ำแข็งแผ่นบาง ๆ ที่มีหกแขนที่กว้างพอที่จะก่อตัวเป็นดาว โดยปกติขอบของแขนงจะสมมาตรทำให้มันพิเศษยิ่งขึ้น

แขนงดาวฤกษ์(Stellar dendrites)
คำว่า เดนไดรต์ หมายถึง รูปร่างของต้นไม้ ในที่นี้คือ แขนงของเกล็ดน้ำแข็ง เกล็ดชนิดนี้จะแตกแขนงออกเคล้ายกับต้นไม้ จะมีแขนงหลักเป็นแขนอยู่หกแขนง และแขนงย่อยหลากหลายแบบ โดยภาพรวมดูคล้ายดวงดาวเวลาเปล่งแสง จึงได้ชื่อว่า แขนงดาวฤกษ์(Stellar dendrites)

แท่งกลวงและเข็ม(Hollow columns and needles)
จะเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม บางครั้งมีรูปร่างเป็นรูปทรงกรวยที่ปลายซึ่งทำให้ดูเหมือนแท่งกลวง มันมีขนาดเล็กมากไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะก่อตัวที่อุณหภูมิประมาณ -5 องศาเซลเซียส

เกล็ดสามเหลี่ยม(Triangular crystals)
คือเกล็ดน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในอุณหภูมิ -2 องศาเซลเซียสเท่านั้น จะก่อตัวเป็นสามเหลี่ยมได้มากกว่าหกเหลี่ยม ซึ่งกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นน้อยมาก

Bullet Rosette
เกล็ดหิมะชนิดนี้จะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ผลึกน้ำแข็งก่อตัวขึ้นหลายรูปแบบในทิศทางแบบสุ่ม เมื่อผลึกน้ำแข็งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกลายเป็นแบบแท่ง ที่เรียกว่า bullet rosette มันถูกเรียกว่าแบบนี้เพราะว่าเมื่อผลึกตก และแตก ผลึกน้ำแข็งแต่ละก้อนจะเป็นรูปกระสุน

หิมะเทียม(Artificial snow)
ในสถานที่ท่องเทียว เช่น ลานสกี จะใช้เครื่องจักรสร้างหิมะเทียมขึ้นมาเพื่อช่วยให้นักสกีปรับเปลี่ยนทางลาดได้ดี และผลิตออกมาเรื่อย ๆ เพื่อฝึกฝนกีฬา อย่างไรก็ตามเกล็ดหิมะเหล่านี้จะก่อตัวเป็นหิมะเทียมไม่ได้มีรูปร่างตามกระบวนการธรรมชาติ ไม่ได้มีรูปทรงเป็นเรขาคณิต

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0
https://www.meteorologiaenred.com/en/snowflakes.html

รู้หรือไม่ หิมะ เกิดขึ้นได้อย่างไร

รู้หรือไม่ หิมะ เกิดขึ้นได้อย่างไร

น้ำฝน เกิดจาก การที่น้ำระเหยขึ้นไปควบแน่น จับตัวกับฝุ่นละออง จนกลายเป็นหยดน้ำ แล้วร่วงลงมากลายเป็นน้ำฝน

เช่นเดียวกับฝน

หิมะจะเกิดจากการที่น้ำระเหยขึ้นไปควบแน่น แต่หิมะจะมีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้อง อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 องศา

จะทำให้ไอน้ำที่ควบแน่นกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง และรวมตัวกัน เป็นเกล็ดหิมะ

ส่วนลูกเห็บ จะเกิดจากการที่น้ำฝนแข็งตัวแล้วถูกพัดวนกลับไป และจะหนาขึ้นเรื่อยๆ จนก้อนใหญ่และหนัก จนตกลงมา  

เกิดจากกระแสในอากาศไหลขึ้น และไหลลงภายในเมฆชั้นล่างอย่างเมฆคิวมูโลนิมบัส

ซึ่งเป็นเมฆที่มีเม็ดฝนเย็นจัด มักเกิดขึ้นเวลามีพายุฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง

ที่มา :

https://hilight.kapook.com/view/132188

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%B0

https://www.sanook.com/campus/928226/

ความรู้เบื้องต้นในการพัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิต

“คาร์บอนเครดิต” เป็นสิทธิที่เกิดจากการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถวัดปริมาณและนำไปซื้อ-ขายในตลาดคาร์บอนเครดิตได้ สิ่งที่ควรรู้ก่อนจะขายคาร์บอนเครดิตมีอะไรบ้าง เรามาหาคำตอบกันได้ในสัมมนาครั้งนี้
โดยผู้บรรยาย
ดร.พรพิมล  วิญญชาคริต
คุณบุษบงกช  ดีวาจา

วีดีโอบรรยายโครงการคาร์บอนเครดิต

เอกสารประกอบการบรรยาย