ทำไมใบไม้เปลี่ยนสี

🤔ทำไม?

ใบไม้เปลี่ยนสี🍂

ช่วงเทศกาลฮาโลวีนนี้หลาย ๆ คนต้องนึกถึงฤดูใบไม้ร่วงกันอยู่แล้วใช่ไหมล่ะคะ

แล้วทำไมใบไม้ถึงเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีส้มล่ะ อยากรู้กันไหมคะ

ในเซลล์พืชนอกจากจะมีคลอโรฟิล (Chlorophyll) ที่เป็นสีเขียวแล้วยังมีสารสีอื่นๆ ด้วย ได้แก่ สีเหลือง (Xanthophyll) สีส้ม (Carotenes) สีแดง และม่วง (Anthocyanin) แต่จะถูกกดโดยสีเขียวของคลอโรฟิล และจะแสดงให้เห็นเมื่อคลอโรฟิลเริ่มสลายตัว

โดยปกติคลอโรฟิลจะทำงานโดยการดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์ ใช้สำหรับการเปลี่ยนรูปแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และน้ำ (H2O) ให้เป็นคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) อย่างน้ำตาล

แต่พอถึงฤดูใบไม้ร่วงเข้าใกล้ฤดูหนาว ช่วงเวลากลางวันจะสั้นลง และอุณหภูมิก็จะเริ่มเย็น ทำให้การสร้างอาหารของพืชหยุดลง คลอโรฟิลค่อยๆสลายตัว ทำให้เห็นสีอื่น ๆ ได้ชัดขึ้น

ดังนั้นเลยทำให้เราเห็นต้นไม้บางชนิดเปลี่ยนสีใบเป็นสีส้มจนไปถึงสีน้ำตาลเลยค่ะ

ที่มา: https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69490/-blo-scibio-sci-http://biology.ipst.ac.th/?p=826

เลือดไม่ได้มีแค่สีแดง

🔍รู้หรือไม่?

เลือด ไม่ได้มีแค่สีแดง!

เมื่อนึกถึงเทศกาลฮาโลวีน🎃 ทุกท่านจะนึกถึงอะไรบ้างคะ แน่นอนว่าหนึ่งในหลาย ๆ ท่านก็อาจจะนึกถึงเลือด วันนี้แอดมินนำเกร็ดความรู้เล็ก ๆ มาฝากกันค่ะ

แน่นอนว่าเลือดที่เราคุ้นเคยและเป็นภาพจำของหลาย ๆ คนจะต้องเป็นสีแดง แต่ยังมีสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่ไม่ได้มีเลือดสีแดง

แล้วทำไมเลือดถึงเป็นสีแดง?

สีแดงจากเลือดที่เราเห็น เนื่องจากมีธาตุเหล็ก (Fe) อยู่ในฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นโปรตีนที่อยู่ในเลือด มีหน้าที่ช่วยในการขนส่งออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ามีสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดสีน้ำเงินอยู่ เนื่องจากมีทองแดงอยู่ในฮีโมไซยานิน (Hemocyanin) ซึ่งเป็นโปรตีนในเลือด และทำหน้าที่เช่นเดียวกับฮีโมโกลบิน เช่น แมงมุม แมงดาทะเล กุ้ง หรือสัตว์ขาปล้องบางชนิด

เลือดสีเหลืองเนื่องจากปริมาณของธาตุวาเนเดียม (Vanadium, V) ที่อยู่ในวานาบิน (Vanabin) หรือโปรตีนที่อยู่ในเลือดทำให้เกิดสีเหลือง นอกจากนี้ วานาบินก็ไม่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขนส่งออกซิเจนในร่างกาย จึงยังคงเป็นปริศนาอยู่ ซึ่งสัตว์ที่มีเลือดสีเหลือง ได้แก่ สัตว์จำพวกปลิงทะเล

หนอนท่อ (Tubeworm) มีเลือดเป็นสีเขียวเนื่องจากโปรตีน Chlorocruorin ในเลือด โดยที่เลือดจะเป็นสีเขียวอ่อนเมื่อมีปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดต่ำ และจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเมื่อมีปริมาณความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดสูง และสัตว์อื่น ๆ ที่มีเลือดสีเขียว เช่น กิ้งก่าเลือดสีเขียวสายพันธุ์ Prasinohaema prehensicaud

หนอนถั่ว (Peanut worm) มีเลือดเป็นสีม่วงเนื่องจากโปรตีน Haemorythrin แต่เลือดจะมีสีม่วงก็ต่อเมื่อกำลังขนส่งออกซิเจนเท่านั้น ถ้ามีการถ่ายออกซิเจนไปสู่เซลล์อื่น ๆ แล้วเลือดจะไม่มีสี

นอกจากนี้ยังมีสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีเลือดด้วย เช่น ปลา Ocellated icefish ที่เลือดไม่มีสี เนื่องจากปลาชนิดนี้ไม่มีโปรตีนที่ใช้ในการขนส่งออกซิเจน แต่ใช้ของเหลวในเลือดเป็นตัวนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายแทน

หวังว่าโพสต์นี้จะเป็นประโยชน์เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้กับทุกท่านนะคะ

ที่มา: https://www.trueplookpanya.com/…/70972/-blo-scibio-sci-